คำสนธิ?
คำสนธิ คือ การเชื่อมคำเข้าด้วยกัน โดยนำคำบาลีและสันสกฤตตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปมาเชื่อมต่อกันเป็นคำเดียวกัน เสียงสุดท้ายของคำหน้า รับเสียงหน้าของคำหลัง
รวม 50 คำสนธิที่ใช้บ่อย ๆ
กตัญชลี
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น กต + อัญชลี (คำหน้า + คำหลัง)
กรกฎาคม
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น กรกฎ + อาคม (คำหน้า + คำหลัง)
กรรมกร
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น กรรม + อากร (คำหน้า + คำหลัง)
กุศโลบาย
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น กุศล + อุบาย (คำหน้า + คำหลัง)
คงคาลัย
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น คงคา + อาลัย (คำหน้า + คำหลัง)
คุรุปกรณ์
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น คุรุ + อุปกรณ์ (คำหน้า + คำหลัง)
คุรูปกรณ์
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น คุรุ + อุปกรณ์ (คำหน้า + คำหลัง)
คเชนทร์
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น คช + อินทร์ (คำหน้า + คำหลัง)
จิตรกร
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น จิตร + อากร (คำหน้า + คำหลัง)
จินตนาการ
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น จินต + อาการ (คำหน้า + คำหลัง)
จุฬาภรณ์
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น จุฬา + อาภรณ์ (คำหน้า + คำหลัง)
จุฬาลงกรณ์
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น จุฬา + อลงกรณ์ (คำหน้า + คำหลัง)
หมายเหตุ คำสมาส คือ จุฬาอลงกรณ์
ดรุโณทยาน
ทรัพยากร
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น ทรัพย + อากร (คำหน้า + คำหลัง)
ธนาณัติ
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น ธน + อาณัติ (คำหน้า + คำหลัง)
นครินทร์
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น นคร + อินทร์ (คำหน้า + คำหลัง)
นภาลัย
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น นภา + อาลัย (คำหน้า + คำหลัง)
นโยบาย
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น นย + อุบาย (คำหน้า + คำหลัง)
บดินทร์
ผลานิสงส์
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น ผล + อานิสงส์ (คำหน้า + คำหลัง)
พลานามัย
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น พล + อนามัย (คำหน้า + คำหลัง)
พันธนาการ
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น พันธนะ + อาการ (คำหน้า + คำหลัง)
พุทโธวาท
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น พุทธ + โอวาท (คำหน้า + คำหลัง)
หมายเหตุ คำสมาส คือ พุทธโอวาท
มหรรณพ
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น มหา + อรรณพ (คำหน้า + คำหลัง)
มหัศจรรย์
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น มหา + อัศจรรย์ (คำหน้า + คำหลัง)
มหานิสงส์
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น มหา + อานิสงส์ (คำหน้า + คำหลัง)
มัคคุเทศก์
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น มัคค + อุเทศก์ (คำหน้า + คำหลัง)
มุนินทร์
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น มุนี + อินทร์ (คำหน้า + คำหลัง)
มโหสถ
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น มหา + โอสถ (คำหน้า + คำหลัง)
มโหฬาร
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น มหา + โอฬาร (คำหน้า + คำหลัง)
ยโสธร
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น ยสส + ธร (คำหน้า + คำหลัง)
รังสิโยภาส
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น รังสี + โอภาส (คำหน้า + คำหลัง)
ราชานุสรณ์
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น ราชา + อนุสรณ์ (คำหน้า + คำหลัง)
ราชินยานุสรณ์
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น ราชินี + อนุสรณ์ (คำหน้า + คำหลัง)
วิทยาลัย
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น วิทย + อาลัย (คำหน้า + คำหลัง)
วิเทโศบาย
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น วิเทศ + อุบาย (คำหน้า + คำหลัง)
ศิลปาชีพ
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น ศิลป + อาชีพ (คำหน้า + คำหลัง)
สมิทธิ
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น สํ + อิทธิ (คำหน้า + คำหลัง)
สังสันทน์
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น สํ + สนฺทน (คำหน้า + คำหลัง)
สัมผัส
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น สํ + ผัส (คำหน้า + คำหลัง)
สามัคยาจารย์
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น สามัคคี + อาจารย์ (คำหน้า + คำหลัง)
สินธวานนท์
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น สินธุ + อานนท์ (คำหน้า + คำหลัง)
สุริโยทัย
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น สุริย + อุทัย (คำหน้า + คำหลัง)
สุโขทัย
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น สุข + อุทัย (คำหน้า + คำหลัง)
หมายเหตุ คำสมาส คือ สุขอุทัย
สโมสร
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น สํ + โอสร (คำหน้า + คำหลัง)
อมรินทร์
อัคโยภาส
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น อัคคี + โอภาส (คำหน้า + คำหลัง)
อเนก
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น อน + เอก (คำหน้า + คำหลัง)
อเรนทร์
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น อริ + อินทร์ (คำหน้า + คำหลัง)
เทพารักษ์
แยกคำสมาสแบบสนธิเป็น เทพ + อารักษ์ (คำหน้า + คำหลัง)
คำสนธิ เป็นอีกหนึ่งความรู้ที่สำคัญของภาษาไทย ศึกษาไว้เรื่อย ๆ เราจะเข้าใจความหมายและที่มาของคำได้ลึกซึ้งขึ้น